เอื้อเฟื้อ เมตตา อาสาช่วยงาน บริการด้วยน้ำใจ

22/10/55

มกราคม 2556

  1. คุณทองคำ  กรเกตุ 22
  2. คุณสมบูรณ์  สมบุญจร 21
  3. พ.ท.เสริมชัย  อื้อประเสริฐ 22
  4. คุณอารมย์  บุณฑริก   21
  5. คุณกิจพัฒน์  เรืองช่วย 21
  6. คุณปริญญา  ศรีสวัสดิ์ 4
  7. คุณทองสุข    แซ่เจี่ย   0
  8. คุณครองจันทร์  ชูชีพ 11
  9. ร.ต.ขวัญชัย  ศรีสันต์ 20
  10. คุณส่อง  วงศ์เพิ่มเจริญ 13
  11. คุณประจวบ  วงศ์เพิ่มเจริญ 12
  12. ร.อ.บำรุง  สกุลปั้นเงิน 11
  13. คุณสิริมา  เวชพานิช 0
  14. คุณโสภณ  ถิรมงคล 16
  15. คุณนิชยา  ราชนิชยากร 8
  16. คุณสคราญ  คงรินทร์ 7
  17. คุณจินตนา  เมธีธรรมวิทย์ 12
  18. คุณปณิธาน ถิรมงคล 0
  19. คุณกมลาลักษณ์  โรจนพรอนันต์ 16
  20. พ.อ.สมวุติ  เพ็ญวันศุกร์ 15
  21. คุณชมพูนุท  ศิลปสอน 11
  22. คุณนิภา  ชิงชัย 5
  23. คุณเริงนันท์  ไทยจำเนียน 7
  24. คุณบัณฑารีย์  อ้นทอง  6
  25. คุณสมลักษณ์  คณารักษ5สันติ 5
  26. คุณนฤมล  บุญนำ 21
  27. ร.ต.ต.จักรพันธ์ เกิดสังวรณ์ 11
  28. คุณนราทิพย์  ศรีเมธากุล 4
  29. คุณปฐม  ไทรเล็กทิม 4
  30. คุณเพ็ญนภา  แย้มปลื้ม 8      
  31. คุณเมธี วินันท์ 3               
  32. คุณพาขวัญ  แสนสวาท 9
  33. คุณเกตทิพย์ พุทธอร่าม 6
  34. คุณธงชัย  นิลน้ำเพชร 1
  35. คุณพวงผกา  สุดแก้ว 2
  36. คุณสุพรรณ์  สระประไพ 2
  37. คุณณัฐกนก จินตแสวง 5
  38. คุณพรรณฤดี โพธารมย์ 8
  39. คุณจุทิชา  น้อยผา 7
  40. คุณบุญตา ยี่ผาสุข 3
  41. คุณอาริยา  1
  42. คุณสมถวิล วิริยะวารีกุล 8


การบังคับใช้และการแก้ไขระเบียบปฏิบัติของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

14.1  การเริ่มบังคับใช้

ระเบียบปฏิบัติชมรมอาสาสมัครจิตอาสาฉบับปัจจุบันฉบับนี้ เริ่มใช้หลังจากวันประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2554 เป็นต้นไป  และให้ยกเลิกระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่เดิม
14.2  การแก้ไขเพิ่มเติม

ระเบียบปฏิบัติชมรมอาสาสมัครจิตอาสาหรือการเปลี่ยนแปลง ทำได้โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสาและต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนที่เข้าร่วมประชุม
หมายเหตุ: ผู้บริหารของโรงพยาบาลราชบุรีมีสิทธิดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องและไม่ขัดแย้งกับการบริหารงานของทางโรงพยาบาลราชบุรี



การบริหารการเงินของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

        13.1  รายได้ชมรมอาสาสมัครจิตอาสา  ได้มาจากกรณีดังต่อไปนี้

               13.1.1 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ช่วยเหลือและบริจาคให้กับทางชมรมอาสาสมัครจิตอาสา
               13.1.2 รายได้จากกิจกรรมที่ทางชมรมจิตอาสาได้จัดหารายได้


        13.2  บัญชีธนาคารของทางชมรมจิตอาสา
                13.2.1 เงินที่ทางชมรมได้มาในทุกๆ กรณี ต้องนำเข้าบัญชีธนาคารในชื่อบัญชีของ “ชมรมอาสาสมัครจิตอาสา” โรงพยาบาลราชบุรี โดยคณะกรรมการบริหารชมรมเห็นชอบโดยระบุธนาคารเพียงแห่งเดียว

            13.2.2 ให้ประธานหรือเหรัญญิกหรือผู้ช่วยเหรัญญิกและกรรมการที่ประธานได้ทำการคัดเลือกเป็นผู้     ลงนามในการเปิดบัญชีธนาคาร

        13.3   อำนาจในการสั่งจ่ายเงิน
                13.3.1 ประธานชมรม มีอำนาจอนุมัติ-จ่ายเงินในกิจกรรมของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ตามวัตถุประสงค์ได้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นต้องให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการชมรม

                13.3.2 เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดไว้ในความรับผิดชอบไม่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนให้ทดลองจ่ายได้ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน) แล้วนำเสนอขออนุมัติต่อประธานชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

                13.3.3 การสั่งจ่ายเงิน ต้องมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเงินคือประธานชมรมหรือเหรัญญิกหรือผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน 1 คน โดยต้องมี 2 ใน 3 คน

                13.3.4 มอบให้เหรัญญิก เป็นผู้รับผิดชอบเอกสารหลักฐานการเงินและเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

                13.3.5 เหรัญญิกรับผิดชอบในเรื่องการทำสรุปรายงานสถานะการเงินให้ต่อที่ประชุมคณะกรรมการชมรม และที่ประชุมสมาชิกชมรมได้รับทราบ

หลักเกณฑ์การประชุม

12.1 องค์ประชุม องค์ประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง การลงมติที่ประชุมให้ตัดสินจากเสียงข้างมาก หากคะแนนเท่ากัน  ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
12.2 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยให้คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสากำหนดวันประชุมและแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนถึงวันประชุม โดยกำหนดสถานที่ประชุมตามความเหมาะสม
12.3 องค์ประชุมใหญ่  การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 50 ของจำนวนสมาชิก จึงถือว่าครบองค์ประชุม การลงมติที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่ มาประชุม
12.4 การประชุมครั้งแรกที่ไม่ครบองค์ประชุม ให้เลขานุการนัดประชุมใหญ่เป็นครั้งที่สองโดยแจ้งให้สมาชิกทราบภายใน 10 วัน นับจากวันนัดประชุมครั้งแรก ในการประชุมครั้งที่สองนี้ไม่ว่าสมาชิกจะมาประชุมจำนวนเท่าใดก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม
12.5 การประชุมวิสามัญ  จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุมและจะกระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
12.5.1 คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา เห็นสมควรให้มีการประชุมวิสามัญ

12.5.2 เมื่อสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คน เข้าชื่อกันร้องขอและแจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมให้คณะกรรมการบริหารชมรมนัดประชุมภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องขอ
12.5.3 การประชุมวิสามัญนี้ให้ดำเนินการตามวิธีการตามที่กำหนดไว้ในการประชุมใหญ่




















 

การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

       11.1 กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในกรณีดังต่อไปนี้
                  11.1.1  เสียชีวิต
                  11.1.2  ลาออก
                  1.1.3  พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก

     11.2  เมื่อคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ให้มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบต่อคณะกรรมการชุดใหม่โดยเร็ว

      11.3  ในกรณีกรรมการคนใดคนหนึ่งลาออก ให้ทำการคัดเลือกแต่งตั้งใหม่ และให้คณะกรรมการที่เหลืออยู่ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ




การดำเนินงานคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

10.1 ให้ประธานหรือรองประธานชมรม เป็นประธานการประชุม ถ้ารองประธานไม่อยู่ให้ที่ประชุมพิจารณาเลือกกรรมการอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนในการประชุมครั้งนั้นๆ

10.2 ให้คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือและพิจารณาปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกิจการของชมรม

หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

        9.1 หน้าที่ของประธานกรรมการ

9.1.1 นำคณะกรรมการบริหารและสมาชิกของชมรมปฏิบัติหน้าที่ตามความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของชมรม ตามกำลังความคิดความสามารถ
9.1.2 แต่งตั้งผู้ทำการแทนชั่วคราวในหน้าที่กรรมการบริหารที่ว่างลง หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

9.1.3 ร่วมรับผิดชอบการรับ จ่ายเงิน  และการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามระเบียบ
9.1.4 เป็นผู้แทนของชมรมที่จะไปในงานกิจกรรมของชมรม หากมีความจำเป็นไม่สามารถไปในงานนั้นได้ ต้องตั้งกรรมการหรือสมาชิกชมรมไปในงานนั้นแทน

9.1.5 รายงานผลการปฏิบัติงานและกิจกรรมของชมรม ให้ที่ประชุมรับทราบ

9.2 หน้าที่ของรองประธานกรรมการ
9.2.1 ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของประธานกรรมการ

9.2.2 ทำหน้าที่แทนประธานฯ กรณีที่ไม่อยู่หรือไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้

        9.3 หน้าที่ของเหรัญญิก

9.3.1 เป็นผู้รับ และจ่ายเงินสวัสดิการของชมรม ในกิจกรรมของชมรมที่คณะกรรมการเห็นชอบ
9.3.2 ทำบัญชีแสดงรายรับ รายจ่าย เงินของชมรม

9.3.3 รวบรวมเอกสารการรับจ่ายเงินของชมรม เสนอประธานเพื่อพิจารณาสั่งการ
9.3.4 จัดการในเรื่อง ฝาก ถอนเงินของชมรม ที่ธนาคารพาณิชย์ให้เป็นไปตามระเบียบของชมรม

9.3.5 แจ้งรายรับรายจ่ายและฐานะทางการเงินของชมรม ในที่ประชุมทุกครั้ง
        9.4 หน้าที่ของปฏิคม
9.4.1 เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ให้สมาชิกได้ทราบ โดยประสานงานกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลราชบุรี

9.4.2 ดูแลจัดการเรื่องสถานที่ประชุม บอร์ดประชุม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ห้องประชุมของ                  โรงพยาบาลราชบุรี
9.4.3 รับรอง ต้อนรับและบริการให้กับสมาชิกและแขกรับเชิญ วิทยากรที่ชมรมเชิญมาร่วมการประชุม

          9.5 หน้าที่ของนายทะเบียน
9.5.1 รับสมัครและรวบรวมใบสมัครสมาชิก ลงทะเบียนประวัติสมาชิกชมรม
9.5.2 แจ้งจำนวนสมาชิกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ให้ประธานและเลขาฯ ทราบ
9.5.3 ทำทะเบียนหน้าที่การทำงานและสถานที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของสมาชิก


9.6 หน้าที่ของประชาสัมพันธ์และพิธีการ
9.6.1 รวบรวมข่าวสารซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชมรม โดยประสานงานกับเลขานุการและกรรมการชมรม หรือจากแหล่งข่าวทั่วๆ ไป เพื่อแจ้งให้สมาชิกทราบ

9.6.2 แจ้งข่าวสาร การปฏิบัติงาน และกำหนดการต่างๆ ให้สมาชิกทราบ
9.6.3 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและนายทะเบียน จัดหน้าที่และสถานที่ปฏิบัติงานให้กับสมาชิกจิตอาสาที่สมัครเข้ามาใหม่


        9.7 หน้าที่ของเลขานุการชมรม
9.7.1 บันทึกรายงานการประชุม  และดำเนินการจัดทำเอกสารให้ผู้เข้าประชุมได้รับทราบเรื่องทุกครั้ง

9.7.2เป็นตัวแทนในการประสานงานในหน่วยงานชมรมอาสาสมัครจิตอาสากับสมาชิก และคณะกรรมการ แทนประธานและรองประธาน ในกรณีที่ติดภารกิจ  และดำเนินการประสานงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานภายนอก
9.7.3 จดบันทึกเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชมรมและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอในการประชุม

12/10/55

จิตอาสา พลังแห่งกัลยาณมิตร

                 กลุ่มงานจิตอาสา อาสาสมัครทำงานด้วยจิตสาธารณะ (กุศลจิต) ร่วมกับเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ โดยยึดอุดมการณ์เมตตาธรรม มิตรภาพบำบัดต่อเพื่อนมนุษย์ ภายใต้หลักหัวใจเดียวกัน (ใจเขาใจเรา) ช่วยเหลือเกื้อกูล ดุจบิดามารดา หรือญาติมิตรที่มีต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย
          มิตรภาพบำบัดทางกาย    ความรู้สึกของผู้ป่วยชั้นสุดท้ายในมุมมองของตนเอง ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยด้วยผลการตรวจพิสูจน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วว่าอยู่ในขั้นสุดท้าย
2. ผู้ป่วยที่รอคิวการผ่าตัด ฉายแสง หรือให้เคมีบำบัด หรือไปไม่ถึงแพทย์
3. ผู้ป่วยและญาติที่เกิดความท้อแท้ สิ้นหวังในจิตใจ แม้ว่าจะเป็นแค่ขั้นต้นๆ
4. ผู้ป่วยหรือญาติที่ท้อแท้สิ้นหวังถึงขั้นคิดจะฆ่าตัวตาย
         
ควรได้รับการบำบัดด้วยหลักอายตนะ 6 ดังนี้
1. ทางตา ควรให้เขาได้รับรู้มองเห็นทุกอย่างรอบตัว สิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่รกหูรกตา สะอาด หน้าตาของเราต้อง ยิ้มแย้มแจ่มใส
2. ทางหู ให้เขาได้รับฟังสิ่งที่รื่นหู คำพูดที่นุ่มนวลไพเราะ น้ำเสียงแห่งความเมตตา อาทรห่วงใย
3. ทางจมูก อย่าให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ มารบกวนทุกหนแห่ง อากาศที่หายใจต้องสะอาดบริสุทธิ์
4. ทางปากและลิ้น ต้องได้รับอาหารพอเพียง มีรสชาติ เพื่อให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
5. ทางกาย ต้องให้ทุกส่วนในร่างกายสัมผัสแต่ของนุ่มนวลไม่แข็งกระด้าง ไม่ระคายเคืองในทุกอริยบถ การถูกตัวด้วยความรัก ห่วงหาอาทร
6. ทางใจ อย่าให้เขาเกลียด กังวล ไม่สบายใจ ทำให้อารมณ์เสียให้เขามีโอกาสเลือกได้ตัดสินใจได้ อย่าใช้วิธีการบังคับ ทุกคำพูดควรให้กำลังใจเสมอ
มิตรภาพบำบัดทางจิต     หลักธรรมะต่อไปนี้จะช่วยเยียวยาด้วยตนเองแม้ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็ตาม
1. ตั้งสติทุกอย่างให้ได้เป็นรากฐานแห่งชีวิต เช่นเมือรู้ว่าปวดท้อง ตั้งสติให้มั่นว่าจะต้องบำบัดอะไรต่อ
2. วิจัยธรรมหรือวิเคราะห์หลักความจริงต่างๆ รู้จักเลือกเฟ้นการดำเนินชีวิต การใช้ปัญญาพิจารณาค้นกาความรู้ ความจริง ความถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือหลักคำสอนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิต
3. วิริยะ มีความเพียร ความเป็นผู้กล้าหาญ มีพลังความเข็มแข็งของจิตใจที่จะเดินและก้าวต่อไป ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ปัญหาความยุ่งยากลำบาก กล้าสู้กับความจริง
4. ปีติ คือความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ ซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม โดยสร้างปีติจากการคิด การพูด กระทำดี สร้างสรรค์ต่อสังคมส่วนรวม นับว่าปีติเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสำคัญยิ่งของจิตใจ เป็นยาวิเศษที่สมานจิตใจได้ดีที่สุด
5. ความผ่อนคลายไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด สงบเย็น นั่นคือทำอย่างไรไม่ให้เครียด เครียดเพราะคิดวนเวียนแต่เรื่องเดิมๆ กังวลไม่รู้จบ ต้องหันเหความสนใจ หาทางผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินเล่น ออกกำลังกาย  ท่องเที่ยวไปต่างจังหวัดสูดอากาศบริสุทธิ์ ทิวทัศน์ดี สัมผัสกับธรรมชาติ เป็นต้น
6. มีสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น อย่างที่เรียกว่า ใจอยู่กับกิจ  จิตอยู่กับงาน แน่วแน่ต่อการบำบัดรักษาของแพทย์ พยาบาล สนใจทำงานอดิเรกหรืองานประจำ ตั้งสติไม่ให้ความคิดวอกแวก
7. การรู้จักวางเฉย วางเฉยต่อการบำบัดรักษาตามกระบวนการรักษา วางเฉยต่อคำพูดต่างๆ ที่ไม่สบอารมณ์
         
          ข้อคิดในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติตามแนวชาวพุทธ
          เราต้องเชื่อว่าความตายเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดใหม่ หรือไปสู่สวรรค์ หรือไม่เกิดอีกเลย ก่อนตายจากโลกนี้ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ (ต้องตายทุกคน) ควรยังความดีให้ถึงพร้อม พึงนึกถึงบุญกุศล คุณงามความดีที่เราได้สร้างส้มไว้ ก็จะอิ่มอกอิ่มใจ ปีติ สงบสุข หากยังนึกไม่ออกว่ามีความดีอะไรบ้าง ก็จงเร่ง บำเพ็ญทาน (ทานบารมี) ในโอกาสต่างๆ เช่น
-          การให้ทานด้วยทรัพย์สินแก่ผู้ยากไร้
-          การให้ทานด้วยสายตาที่เมตตาปรานีต่อเพื่อนร่วมโลก
-          การให้ทานด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ ให้กับตนเองและคนรอบข้าง
-          การให้ทานด้วยวาจาที่ไพเราะ อ่อนหวาน น่าฟังต่อตนเองและผู้อื่น
-          การให้ทานด้วยแรงกายช่วยเหลือผู้อื่น เช่น งานอาสาสมัคร สาธารณะกุศลต่างๆ
-          การให้ทานด้วยการให้อาสนะที่นั่งภายในบ้าน หรือเสียสละที่นั่งบนรถโดยสาร
-          การให้ทานด้วยการให้ที่พักสะดวกสบายแก่ผู้มาเยือนหรือผู้เดือดร้อน
-          การให้ทานด้วยการให้อภัย ทั้งแก่ตัวเอง และคนรอบข้าง แม้แต่ศัตรูคู่อาฆาต
-          การให้ทานด้วยการให้ธรรมะหรือคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ทุกคืนก่อนนอนให้ระลึกถึงการบำเพ็ญทาน และบุญกุศล เมือใกล้ถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตให้น้อมจิตระลึกถึงสิ่งที่ดีๆ หายใจเข้า-ออก ยาวๆ ลึกตามหลักอานาปานสติ มองเห็นตัวเองกำลังอยู่ในนิมิตที่มีความสะอาด สว่าง สงบ เมื่อตื่นนอนวันรุ่งขึ้นยังคงมีชีวิตอยู่จงเร่งกระทำความดีอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาก็นอนหลับอย่างมีสติ ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดไป จนวาระสุดท้ายของชีวิต ยิ้มให้กับความดีของตนเองด้วยปีติจิตดับสู่...สุคติภูมิ
                                    ... ชีวิต  คือความว่างเปล่า ...


โดย  คุณกิจพัฒน์  เรืองช่วย
จิตอาสา รพ.ราชบุรี










เทคนิคการดูแล เยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย

                
ชีวิตคนเราดำรงอยู่ได้เพราะมีลมหายใจเข้า-ออก จึงเรียกว่าลมปราณ การเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย     (ความเสื่อม การตายของเซลล์) ย่อมเป็นไปทุกขณะจิตตามเหตุและปัจจัย ดังนั้นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย       จึงเป็นธรรมดาของสัตว์โลก เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป (อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา)

                การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจของผู้ป่วย
1. ความกลัว                          - กลัวอยู่คนเดียว ถูกทอดทิ้ง เกิดความซึมเศร้า หมดแรง สิ้นกำลังใจ
2. ความห่วง วิตกกังวล       - เป็นห่วงคนที่รัก ห่วงทรัพย์สินมรดก
3. กลัวชีวิตหลังความตาย   - หวนคำนึงถึงบาป สิ่งที่ไม่ดีที่เคยกระทำ ภาพเก่า จิตหลอกหลอน (กรรมนิมิต)
4. กลัวถูกรังเกียจ - ถ้าไม่ได้สั่งเสียเรื่องสำคัญแก่คนที่รัก อยากพูดสารภาพบาป เป็นการปลดปล่อย
5. ความเจ็บปวดทางร่างกายมีผลกระทบต่อภาวะจิต (ทุกขเวทนา) คิดมากฟุ้งซ่าน เกิดภาวะเครียดอย่างรุนแรง

                การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ปฏิกิริยาและพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ อาจจะสรุปได้ดังนี้
1. กลัว  ตกใจ  และปฏิเสธความจริงของชีวิต
2. ความโกรธ เกลียดตัวเองที่กำลังจะจากไป
3. อยากมีข้อตกลง ต่อรองกับความตายและการสูญเสียที่กำลังจะมาถึง จิตสับสน
4. เกิดสภาวะซึมเศร้า หมดกำลัง สิ้นพลัง มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เพ้อ เกิดนิมิตร้าย
5. เป็นระยะที่ยอมรับความจริง พร้อมใจที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (กฎของธรรมชาติ)
               
                ข้อปฏิบัติของมิตรภาพบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้าย  สรุปประเด็นที่กลุ่มจิตอาสาหรือญาติพึงตระหนักเป็นสำคัญดังนี้
1. ให้ความรัก ความเมตตาแก่ผู้ป่วย แสดงออกทางสีหน้า แววตา สัมผัสด้วยเมตตาจิต
2. พลังเมตตาที่มอบให้ผู้ป่วย เป็นการเยียวยาที่เรียกว่า จิตบำบัดด้วยรัก ปรารถนาดี
3. ปิยวาจา พูดให้กำลังใจในสิ่งที่ดีๆ บุญกุศลที่ได้กระทำ น้อมรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วย
    นับถือตามหลักศาสนานั้นๆ
4. พูดให้สติ รู้จักปล่อยวาง นึกถึงคุณงามความดีที่เคยกระทำ ให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
5. พูดให้คลายความวิตกกังวล สิ่งที่ค้างคาใจ ยอมรับสัจจธรรมของชีวิต พร้อมใจที่จะเผชิญกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่
    ตนเองในเบื้องหน้า


6. การอำลาและขอความเห็นใจ (ตามหลักความเชื่อของศาสนาที่ผู้ป่วยนับถือ)
    - การขอขมาต่อเจ้ากรรมนายเวร สิ่งที่เคยผิดพลาดในอดีต การล่วงเกินต่อบุพการี
    - นึกถึงคุณงามความดีของตนเอง จนเกิดความภาคภูมิใจ ยิ้มให้กับตนเองได้
    - ให้คนที่รักได้พูดความในใจที่มีต่อผู้ป่วย บอกรัก โอบกอดด้วยใจรักอบอุ่น
    - จิตภาวนา การได้ฟังเสียงบรรยายธรรมะ การสวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตาอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ
               
ตายแล้วไปไหน  ตามหลักพระพุทธศานา พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อคนเราตายจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปจุติเกิดได้ 5 ทาง คือ
1. ทางที่ 1  ไปเกิดในอบายภูมิ 4 คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
2. ทางที่ 2  ไปเกิดเป็นมนุษย์
3. ทางที่ 3  ไปเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดา นางฟ้า สวรรค์ 6 ชั้น
4. ทางที่ 4  ไปเกิดบนพรหมโลก เป็นพรหมชั้นต่างๆ 20 ชั้น
5. ทางที่ 5  ไปพระนิพพาน
                ตามหนังสือโบราณที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา (ปรมาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน) ได้เขียนไว้ว่า คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิตต่างๆกัน เช่น
1. เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นไฟ กองไฟ ดวงไฟ แสดงว่าคนนั้นตายแล้วตรงไปนรกทันที ไม่ผ่านสำนักพญายม
2. เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นป่าไม้ จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
3. เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นก้อนเนื้อ จะเกิดเป็นมนุษย์
4. เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นสิ่งที่เป็นบุญกุศล เช่น เคยให้ทานไหว้พระพุทธรูป พระอริยสงฆ์อันเป็นกุศลผลบุญอย่างนี้
   ก็จะไปเกิดบนสรรค์ตามภพชั้น คือไปสู่สุคติภูมิ...นั่นแล

ข้อคิด  ตอนคลอดออกมาเราร้องไห้ ท่ามกลางความดีใจของพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง
          ครั้นความตายมาถึง ลูกหลาน ญาติพี่น้องร้องไห้เสียใจ เราจะต้องปีติ ยิ้มให้ตนเอง



  คุณกิจพัฒน์  เรืองช่วย
จิตอาสา รพ.ราชบุรี




คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา โรงพยาบาลราชบุรี

คณะกรรมการที่ปรึกษาบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา โรงพยาบาลราชบุรี
1. นายแพทย์ประสิทธิ์     นิพัทธสัจก์
2. นายแพทย์สัมพันธ์     สกุณา
3. พ.อ.เชิด    วงษ์ไทย
4. คุณอ่อนศรี    ธไนศวรรยางค์กูล
5. คุณธงชัย    นิลน้ำเพชร
  
คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา โรงพยาบาลราชบุรี
1.  พ.ท.เสริมชัย    อื้อประเสริฐ                                                         ประธานกรรมการ
2.  คุณกิจพัฒน์     เรืองช่วย                                                                รองประธานกรรมการ
3.  คุณส่อง    วงศ์เพิ่มเจริญ                                                                รองประธานกรรมการ
4.  คุณนราทิพย์    ศรีเมธากุล                                                             เหรัญญิก
5.  พ.อ.สมวุฒิ      เพ็ญวันศุกร                                                           ปฏิคม
6.  คุณอารมณ์      บุณฑริก                                                                 นายทะเบียน
7.  คุณกิจพัฒน์     เรืองช่วย                                                               ประชาสัมพันธ์และพิธีการ
8.  คุณวิภารัตน์     ทองอุดม                                                               ประชาสัมพันธ์และพิธีการ
9.  ร.ต.ขวัญชัย      ศรีสันต์                                                                 นันทนาการ
10. คุณครองจันทร์    ชูชีพ                                                                นันทนาการ
11. ร.อ.บำรุง    สกุลปั้นเงิน                                                               สวัสดิการ
12. คุณปัณฑารีย์    อ้นทอง                                                                หัตถกรรมสร้างสรรค์
13. คุณนิธยา    ราชนิชยากร                                                              หัตถกรรมสร้างสรรค์
14. คุณสคราญ     คงรินทร์                                                                หัตถกรรมสร้างสรรค์
15. คุณเริงนันท์    ไทยจำเนียร                                                          หัตถกรรมสร้างสรรค์
16. คุณประจวบ    วงศ์เพิ่มเจริญ                                                       เลขานุการ
17. คุณส่อง    วงศ์เพิ่มเจริญ                                                               ผู้ช่วยเลขานุการ


ความต้องการจิตอาสา

8/10/55

อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา


        8.1 กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของชมรมอาสาสมัครจิตอาสาและโรงพยาบาลราชบุรี
        8.2 บริหารกิจการของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา และโรงพยาบาลราชบุรี

        8.3 ออกกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

        8.4 แต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการเพื่อเข้าร่วมกิจการของชมรมอาสาสมัคร  จิตอาสา และมีอำนาจถอดถอนได้ตามที่เห็นสมควร

        8.5 พิจารณาเรียนเชิญบุคคลเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ตามที่เห็นสมควร
        8.6 พิจารณาการรับสมัครเป็นสมาชิกหรือการสิ้นสุดแห่งสมาชิกภาพตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ

        8.7 พิจารณาตีความตามระเบียบปฏิบัติ

การบริหารชมรมจิตอาสา

       7.1 ให้มีคณะกรรมการบริหารชมรมได้ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย

                7.1.1 ประธานกรรมการ         7.1.4 ผู้ช่วยเหรัญญิก

                7.1.2 รองประธานกรรมการ     7.1.5 นายทะเบียน

                7.1.3 เหรัญญิก                 7.1.6 ประชาสัมพันธ์

7.1.7 นันทนาการ               7.1.8 สวัสดิการ

                7.1.9 เลขานุการ                7.1.10 – 15 ตำแหน่งหน้าที่อื่นแต่งตั้งตามความเหมาะสม

        7.2 ให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครจิตอาสาคัดเลือกประธานกรรมการชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

        7.3 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้คัดเลือกรองประธานกรรมการ และกรรมการอาสาสมัครจิตอาสา

        7.4 ให้ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ เป็นผู้คัดเลือกกรรมการทำหน้าที่ต่างๆ ตามที่เห็นสมควร
        7.5 ให้คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี และอาจได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการวาระต่อๆ ไปได้อีก

การพ้นจากสมาชิกภาพ

6.1 ผู้เป็นสมาชิกเสียชีวิต
6.2 ผู้เป็นสมาชิกลาออกจากการเป็นสมาชิกชมรมอาสาสมัครจิตอาสา โดยทำเป็นลายลักอักษร
6.3 ไม่มาปฏิบัติงานจิตอาสาตามกำหนดอย่างน้อย 1 เดือน ติดต่อกัน (ยกเว้นมีเหตุจำเป็นแต่ต้องทำการแจ้งให้ประธานกรรมการทราบ)

6.4 มีความประพฤติที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นสาเหตุให้เกิดความเสื่อมเสีย  ต่อชมรมและโรงพยาบาลราชบุรี   (ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ที่ประชุมกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา ทำการลงมติให้พ้นจากสมาชิกภาพด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด)

สิทธิและสวัสดิการของสมาชิก

5.1 สมาชิกมีสิทธิได้รับการบริการตามที่ชมรมจิตอาสาได้กำหนดไว้
5.2 ทางโรงพยาบาลจัดอาหารว่างและอาหารกลางวันให้สมาชิกที่ได้มาปฏิบัติงานในแต่ละวัน

5.3 สมาชิกชมรมอาสาสมัครจิตอาสาที่ปฏิบัติงานครบ 60 ครั้ง ทางชมรมมีผ้าตัดเสื้อแบบฟอร์มของชมรมอาสาสมัครจิตอาสาให้ แต่ปีละไม่เกิน 2 ชิ้น 

5.4 ได้สิทธิในการตรวจสุขภาพประจำปี

5.5 โรงพยาบาลจะจัดของเยี่ยมขณะเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ทั่วประเทศตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ปีละ 1 ครั้ง

5.6 ได้เชิญเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และงานพิเศษที่โรงพยาบาลจัดขึ้น

5.7 โรงพยาบาลมีของที่ระลึกให้ในโอกาสต่างๆ  ตามความเหมาะสม

5.8 โรงพยาบาลมอบพวงหรีดเคารพศพพร้อมเงินช่วยเหลือกรณีที่เสียชีวิต

การสมัครเป็นสมาชิกชมรมอาสาสมัครจิตอาสา

4.1 กรอกเอกสารใบสมัคร ตามแบบฟอร์มที่ทางชมรมอาสาสมัครจิตอาสากำหนดขึ้น
4.2 ยื่นใบสมัครการเป็นสมาชิกที่สำนักงานชมรมอาสาสมัครจิตอาสาโรงพยาบาลราชบุรี
4.3 เลขานุการชมรมนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อพิจารณา คณะกรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อทำการลงมติรับสมัครโดยเสียงข้างมาก และให้เลขานุการแจ้งแก่ผู้สมัครทราบและประกาศรายชื่อสมาชิกใหม่ให้สมาชิกได้ทราบโดยทั่วกัน

4.4 การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสำหรับผู้ที่เคยยื่นใบสมัครแล้วแต่ไม่ได้รับลงมติรับสมัครหรือผู้ที่พ้นสภาพการเป็นสมาชิกแล้ว สมารถยื่นใบสมัครใหม่ได้อีก

รายนามผู้ปฏิบัติงาน เดือน กันยายน 2555

  1. คุณทองคำ  กรเกตุ 20
  2. คุณสมบูรณ์  สมบุญจร 19
  3. พ.ท.เสริมชัย  อื้อประเสริฐ 19
  4. คุณอารมย์  บุณฑริก   20
  5. คุณกิจพัฒน์  เรืองช่วย 18
  6. คุณปริญญา  ศรีสวัสดิ์ 13
  7. คุณทองสุข    แซ่เจี่ย   18
  8. คุณครองจันทร์  ชูชีพ 11
  9. ร.ต.ขวัญชัย  ศรีสันต์ 17
  10. คุณส่อง  วงศ์เพิ่มเจริญ 7
  11. คุณประจวบ  วงศ์เพิ่มเจริญ 7
  12. ร.อ.บำรุง  สกุลปั้นเงิน 11
  13. คุณสิริมา  เวชพานิช 18
  14. คุณโสภณ  ถิรมงคล 7
  15. คุณนิชยา  ราชนิชยากร 8
  16. คุณสคราญ  คงรินทร์ 5
  17. คุณจินตนา  เมธีธรรมวิทย์ 12
  18. คุณกมลาลักษณ์  โรจนพรอนันต์ 14
  19. พ.อ.สมวุติ  เพ็ญวันศุกร์ 20
  20. คุณชมพูนุท  ศิลปสอน 10
  21. คุณนิภา  ชิงชัย 10
  22. คุณเริงนันท์  ไทยจำเนียน 2
  23. คุณบัณฑารีย์  อ้นทอง 6
  24. คุณสมลักษณ์  คณารักษ์สันติ 8
  25. คุณสำอางค์  สุวรรณะ 5
  26. คุณนฤมล  บุญนำ 20
  27. ร.ต.ต.จักรพันธ์  เกิดสังวรณ์ 13
  28. คุณนราทิพย์  ศรีเมธากุล 7
  29. คุณปฐม  ไทรเล็กทิม 3
  30. คุณเพ็ญนภา  แย้มปลื้ม 6
  31. คุณอุไร  คล้ายแสงจันทร์ 1                     1
  32. คุณเมธี  วินันท์ 2
  33. คุณพาขวัญ  แสนสวาท 8
  34. คุณเกตุทิพย์  พุทธอร่าม  10
  35. คุณธงชัย  นิลน้ำเพชร 2
  36. คุณพวงผกา  สุดแก้ว 3
  37. คุณสุพรรณ์  สระประไพ 3
  38. คุณณัฐกนก จินตแสวง 11
  39. คุณจุทิชา  น้อยผา 2
  40. คุณพรรณฤดี โพธารมย์ 9
  41. คุณชินาภา   เพชรสุวรรณ 1
  42. คุณสมถวิล วิริยะทวีกุล 3
  43. คุณกนกกาญจน์ ทองพรหม   7